รถไฟทางคู่ สายชุมทางศรีราชา-ระยอง
และมาบตาพุด-ระยอง-จันทบุรี-ตราด-คลองใหญ่
เพื่อเป็นเส้นทางส่งเสริมอุตสาหกรรมผลไม้และการท่องเที่ยวภาคตะวันออก เกิดแน่
หลังประชาชนส่วนใหญ่เห็นชอบ หากไม่มีปัญหาอุปสรรคพร้อมเปิดให้บริการ ปี
พ.ศ. 2574
เรือโทศตวรรษ อนันตกูล
รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี
เป็นประธานเปิดการประชุมใหญ่ระดับจังหวัด
เพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนตามแนวเส้นทางที่ได้รับการคัดเลือกงานบริการที่ปรึกษา
เพื่อศึกษาความเหมาะสมของโครงการก่อสร้างทางคู่ สายชุมทางศรีราชา-ระยอง และมาบตาพุด-ระยอง-จันทบุรี-ตราด-คลองใหญ่ เพื่อนำเสนอร่างผลสรุปการศึกษาด้านวิศวกรรม
เศรษฐกิจการเงิน ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และผลการดำเนินงานการมีส่วนร่วมของประชาชน
พร้อมรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ ,หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ,องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
,ภาคเอกชน และภาคประชาชน เข้าร่วมประชุมเป็นจำนวนมาก ณ ห้องประชุมศรีชลวิน โรงแรมพานหิน รีเจ้นท์ ศรีราชา จ.ชลบุรี
นายปัฐพงษ์ บุญแก้ว วิศวกรกำกับการควบคุม
งานวิศวกรรมโยธาและสถาปัตยกรรม
การรถไฟแห่งประเทศไทย
กล่าวว่า โครงการรถไฟทางคู่สายชุมทางศรีราชา-ระยอง
และมาบตาพุด-ระยอง-จันทบุรี-ตราด-คลองใหญ่
เป็นเส้นทางรถไฟสายใหม่ ผ่าน 4 จังหวัด ได้แก่
จ.ชลบุรี ,จ.ระยอง,จ.จันทบุรี
และ จ.ตราด โดยมีจุดเริ่มต้นโครงการที่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี และสิ้นสุดที่
อ.คลองใหญ่ จ.ตราด มีสถานีรถไฟทั้งสิ้น 34 สถานี ระยะทางรวมประมาณ 333
กิโลเมตร
ขณะนี้โครงการดังกล่าว
ได้ดำเนินการศึกษาออกแบบความเหมาะสม โดยดำเนินการมาแล้ว 6 เดือน และได้เลือกเส้นทาง
ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์และแนวทางการศึกษาที่เหมาะ
ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด หลังจากนี้จะนำรายละเอียดเสนอคณะผู้บริหารการรถไฟแห่งประเทศไทยและ
กระทรวงคมนาคม ต่อไป
หากผู้บริหารระดับสูงให้ความเห็นชอบในแนวเส้นทางดังกล่าว จากนั้นจะจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินการออกแบบรายละเอียดเส้นทางการก่อสร้างต่อไป
สำหรับเส้นทางรถไฟทางคู่ดังกล่าว โดยช่วงที่1. เป็นเส้นทางเชื่อมโยงนิคมอุตสาหกรรม
สู่นิคมอุตสาหกรรม
ซึ่งมีจุดเริ่มต้นเชื่อมต่อจากสถานีชุมทางศรีราชา-สถานีระยอง ช่วงที่ 2.เส้นทางเชื่อมโยงนิคมอุตสาหกรรม
สู่พื้นที่ อ.เมืองระยอง มีจุดเริ่มต้นเชื่อมต่อจากสถานีมาบตาพุด ถึง อ.เมือง
จ.ระยอง และช่วงที่ 3 เส้นทางเชื่อมโยงโครงการระเบียงผลไม้ภาคตะวันออกและการท่องเที่ยว
มีจุดเริ่มต้นจาก อ.เมือง จ.ระยอง ผ่านพื้นที่ จ.จันทบุรี และสิ้นสุดที่
อ.คลองใหญ่ จ.ตราด
นอกจากนั้นจะมีพื้นที่เก็บกองและขนถ่ายตู้สินค้าด้วย ที่บริเวณนิคมอมตะซิตี้ระยอง
,บริเวณ อ.ท่าใหม่ จ.จันนทบุรี และ
อ.เมืองตราด จ.ตราด
โดยเส้นทางดังกล่าว
หากแล้วเสร็จ
จะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้กับประชาชนและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าทางรางให้กับเกษตรกรในพื้นที่
อีกทั้งช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวหลากหลายรูปแบบในภาคตะวันออก
พร้อมทั้งสอดรับการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก
เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจ การคมนาคม และ
โลจิสติกส์ของอาเซียนต่อไป
ซึ่งที่ผ่านมาจากการสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ 4 จังหวัด คือ จ.ชลบุรี
,จ.ระยอง ,จ.จันทบุรี
และ จ.ตราด พบว่าส่วนใหญ่ให้ความเห็นชอบต่อโครงการดังกล่าวเพื่อให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ส่วนผู้ที่ได้รับผลกระทบนั้น
ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย จะเข้าไปดูแลเพื่อให้เกิดความชอบธรรม
ซึ่งหากไม่มีปัญหาอุปสรรคใดๆพร้อมเปิดให้บริการ ปี พ.ศ. 2574 “นายปฐพงษ์ กล่าวว่า”
ไม่มีความคิดเห็น: