นายนิติ
วิวัฒน์วานิช นายอำเภอศรีราชา
เป็นประธานเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
โครงการโรงงานผลิตแบตเตอรี่ ของบริษัท ไทยหัวเวย แบตเตอรี่ จำกัด ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมเหมราชชลบุรี
ม.8 ต.บ่อวิน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ณ
ห้องประชุมอบต.บ่อวิน
โดยมีตัวแทนจากบริษัท ไทยหัวเวย แบตเตอรี่ จำกัด ,บริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม
และชาวบ้านในพื้นที่เทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์
,องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อวิน และองค์การบริหารส่วนตำบลเขาคันทรง
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองขามบางส่วน
เข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็นในครั้งนี้กว่า 300 คน
นายจรูญ
จารุรัชตานนท์
กรรมการผู้จัดการบริษัทไทยหัวเวย แบตเตอรี่ จำกัด กล่าวว่า
ทางบริษัทวางแผนขยายกำลังการผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถจักรยานยนต์
และเพิ่มผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า คือ
แบตเตอรี่สำหรับเครื่องสำรองไฟ โดยการติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์เพิ่มภายในอาคารโรงงาน
พร้อมจำหน่ายทั้งภายใน-นอกประเทศ
โดยได้ก่อสร้างโรงงานและเปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2558 ที่ผ่านมา
สำหรับบริษัทไทยหัวเวย
แบตเตอรี่ จำกัด ตั้งอยู่ภายในนิคมอุตสาหกรรมเหมราชชลบุรี ต.บ่อวิน อ.ศรีราชา
จ.ชลบุรี ในเนื้อที่ 28 ไร่ 1 งาน 38 ตารางวา
โดยมีทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 200 ล้านบาท มีแรงงานต่างด้าว จำนวน 450 คน ,แรงงานจีน 25 คน และแรงงานไทย จำนวน 63 คน
โดยที่ผ่านมาโรงงานมีกำลังการหลอมตะกั่วของโครงการจากเดิมเพียง 3.5 ตัน/วัน เป็น 40.0 ตัน/วัน ซึ่งการดำเนินโครงการขยายกำลังการผลิตดังกล่าวเข้าข่ายอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ดังนั้นจึงต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
จึงเชิญชาวบ้านในชุมชนรัศมี 5 กิโลเมตร ในเขตเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ 13 ชุมชน ,องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อวิน
ในหมู่ที่ 3บ้านห้วยปราบ,หมู่ที่ 4 บ้านพันเสด็จใน และ หมู่ที่
6 บ้านเขาหิน และองค์การบริหารส่วนตำบลเขาคันทรง
หมู่ที่ 5 บ้านสุรศักดิ์ ,หมู่ที่ 9 ห้วยตาเกล้า และหมู่ที่ 10
บ้านเจ้าพระยาและชาวบ้าน ในอบต.หนองขามบางส่วน
เข้ามารับฟังและแสดงความคิดเห็นในครั้งนี้
โดยมีชาวบ้านรายหนึ่งได้กล่าวว่า
ปัจจุบันบริษัท หัวไทยเวย แบตเตอรี่
จำกัด มีการใช้วัตถุดิบตะกั่ว จำนวน 3.5
ตัน/วัน และเตรียมขยายเพิ่มตะกั่วเป็น 40.0 ตันต่อวัน ซึ่งเพิ่มกว่า 10 เท่า
ดังนั้นของเสียจะต้องเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน
ซึ่งทางบริษัทฯจะต้องวางมาตรการควบคุมดูแลอย่างเข้มงวด
เพื่อป้องกันปัญหาและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
นอกจากนั้นควรจะต้องมีการสุ่มตรวจร่างกายชาวบ้านในพื้นที่ใกล้เคียงโรงงาน
หากพบก็สามารถช่วยเหลือได้ทันท่วงทีซึ่งทางตัวแทนก็ได้รับฟังและจะนำไปแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความสบายใจกับชุมชนรอบข้าง.........
ไม่มีความคิดเห็น: