กฟผ.
ร่วมกับ อีอาร์เอ็ม-สยาม จำกัด บริษัทที่ปรึกษาการจัดทำรายงาน EIA ของโครงการ
FSRU ร่วมกับ กฟผ.
จัดประชุมชี้แจงและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 เวทีระดับจังหวัดชลบุรี
เพื่อนำเสนอผลการศึกษาการประเมินผลกระทบ ร่างมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบ ร่างมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการฯ
ตลอดจนรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
เพื่อประโยชน์ต่อโครงการฯให้ครอบคลุมทุกประเด็นข้อห่วงกังวล
ส่งผลกระทบต่อประชาชนให้น้อยที่สุด
วันนี้
(4 กันยายน 2561) นายชายชาญ เอี่ยมเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เป็นประธานเปิดการประชุมชี้แจงและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
ครั้งที่ 2 ในการศึกษาและจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) จำนวน
3 โครงการ ได้แก่ (1)
โครงการสถานีเก็บรักษาและแปรสภาพก๊าซธรรมชาติจากของเหลวเป็นก๊าซแบบลอยน้ำ (FSRU)
พื้นที่อ่าวไทยตอนบน (2) โครงการท่าเทียบเรือ FSRU และ
(3)
โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติจากสถานีเก็บรักษาและแปรสภาพก๊าซธรรมชาติจากของเหลวเป็นก๊าซแบบลอยน้ำ
(FSRU) ไปยังโรงไฟฟ้าพระนครใต้ ของ กฟผ.
ในเวทีระดับจังหวัดชลบุรี โดยมีบริษัท อีอาร์เอ็ม-สยาม จำกัด
บริษัทที่ปรึกษาในการศึกษาและจัดทำรายงาน EIA นำเสนอข้อมูลผลการศึกษาการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
รวมถึงร่างมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบ
และร่างมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ
ซึ่งมีผู้แทนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) หน่วยงานราชการส่วนกลาง
ส่วนภูมิภาค ระดับจังหวัด ระดับท้องถิ่น สถาบันการศึกษา องค์กรเอกชน
องค์กรพัฒนาเอกชน สื่อมวลชน และประชาชนที่สนใจ เข้าร่วมรับฟัง ตั้งแต่เวลา
08:30-17.00 น. ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดชลบุรี
โดยผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดของโครงการเพิ่มเติมได้ที่บริษัท
อีอาร์เอ็ม-สยาม จำกัด ติดต่อคุณพงศ์พชร พินิจปรีชา โทรศัพท์ 0-2679-5200
การจัดประชุมชี้แจงและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
ครั้งที่ 2 จัดขึ้น
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการศึกษาการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ร่างมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และร่างมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการ
ที่ได้นำข้อห่วงกังวลจากการประชุมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 1
มาดำเนินการศึกษาและกำหนดร่างมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ตลอดจนเพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มได้ร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงผลการศึกษา
ตลอดจนร่างมาตรการป้องกันแก้ไขและติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการให้ครอบคลุมทุกประเด็นข้อห่วงกังวลและส่งผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด
ก่อนนำเสนอต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เพื่อพิจารณาตามลำดับขั้นตอนต่อไป
สำหรับโครงการนี้
คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในการประชุม
ครั้งที่ 5/2559 เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2559 ได้มอบหมายให้ กฟผ.
เป็นผู้ดำเนินโครงการสถานีเก็บรักษาและแปรสภาพก๊าซธรรมชาติจากของเหลวเป็นก๊าซแบบลอยน้ำ
(FSRU) พื้นที่อ่าวไทยตอนบน
ซึ่งเป็นโครงการแห่งแรกของประเทศไทย สำหรับรองรับการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG)
ในปริมาณ 5 ล้านตันต่อปี
เพื่อจัดส่งก๊าซธรรมชาติให้กับโรงไฟฟ้าพระนครใต้ จังหวัดสมุทรปราการ
และโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ จังหวัดนนทบุรี รวมทั้งจัดส่งเข้าสู่โครงข่ายระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติในปัจจุบัน
โดยมีกำหนดแล้วเสร็จและสามารถส่งก๊าซธรรมชาติให้กับโรงไฟฟ้าได้ในปี 2567
ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้รับทราบมติการประชุมของ กพช. นี้ เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2561
อีกทั้งโครงการ
FSRU ในพื้นที่อ่าวไทยตอนบน เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้ประเทศไทยมีผู้ประกอบการรายใหม่ในกิจการก๊าซธรรมชาติตลอดจนช่วยเพิ่มจุดเชื่อมต่อ
(entry point) ให้กับระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ
ซึ่งเป็นการเพิ่มความมั่นคงของระบบจัดหาและส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ
ซึ่งถือว่าเป็นพลังงานหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจรองรับการเติบโตของประเทศไทยในอนาคต
ไม่มีความคิดเห็น: