เอไอเอส มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยก้าวสู่ประเทศไทย
4.0 ผ่านแนวคิด “Digital For Thais” ใน 4 แกนหลักที่เป็นหัวใจสำคัญของประเทศ
ทั้งด้านการศึกษา การเกษตร สาธารณสุข และธุรกิจสตาร์ทอัพ
หนุนการนำดิจิทัลส่งเสริมการทำงานของภาครัฐ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศให้เข้มแข็ง
เพื่อร่วมสร้างประโยชน์และคุณค่าให้แก่สังคมและประเทศชาติ
นายประวิตร จิตรปัญญา
หัวหน้าฝ่ายงานปฎิบัติการภูมิภาค-ภาคตะวันออก บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส กล่าวว่า “เอไอเอส
ในฐานะที่มีโครงสร้างพื้นฐานสื่อสารโทรคมนาคมครอบคลุมทั่วประเทศ จึงมุ่งมั่นในการนำนวัตกรรมดิจิทัลไปช่วยเสริมความแข็งแรงในรากฐานหลักของประเทศ
ผ่านแนวคิด “Digital For
Thais”โดยนำดิจิทัลเข้าไปเพิ่มศักยภาพ
สร้างโอกาสการเข้าถึงและความเท่าเทียมกันของเทคโนโลยีไปสู่ประชาชน
เพื่อขับเคลื่อนประเทศก้าวไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยทั่วประเทศให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นฐานหลัก 4 ด้านที่เป็นหัวใจสำคัญของประเทศ ทั้งด้านการศึกษา
การเกษตร สาธารณสุข และธุรกิจสตาร์ทอัพ
โดยเอไอเอสได้เพิ่มโอกาสทางการศึกษาและประสบการณ์ให้แก่เด็กและเยาวชนไทยได้เข้าถึงแหล่งข้อมูลทั้งวิชาการและสาระบันเทิง
เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้นอกห้องเรียนให้แก่เด็กและเยาวชนให้ก้าวทันโลกอย่างเท่าเทียมกันในโครงการ
“สานรัก สานความรู้”ด้วยการติดตั้งเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงและมอบกล่อง
AIS สานรัก สานความรู้ ซึ่งมีเนื้อหาเป็นดิจิทัลคอนเท้นต์ต่างๆ
ที่ครบทั้งสาระ ความรู้และความสนุกสนาน
มาช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ให้กับเด็กและเยาวชนไทย
ซึ่งขณะนี้ได้ติดตั้งกล่องสานรักสานความรู้ให้กับโรงเรียนต้นแบบไปแล้ว จำนวน 34
แห่งทั่วประเทศสำหรับในภาคตะวันออก ได้ติดตั้งกล่องสานรัก
สานความรู้ให้แก่โรงเรียนวัดพลา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง
เพื่อให้เด็กในโรงเรียนเหล่านี้ได้มีโอกาสเปิดโลกทัศน์และเข้าถึงข้อมูลอย่างเท่าเทียมกัน
ด้านการเกษตรเอไอเอส
ได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาส่งเสริมการทำงานของเกษตรกรไทยก้าวไปสู่การเป็นเกษตรกร
4.0ด้วยแนวคิด “สอน เสริม สร้าง” ผ่านแพลตฟอร์มฟาร์มสุขเพื่อส่งเสริมความรู้ให้เกษตรกรเข้าถึงข้อมูลสำคัญในการทำการเกษตร
คลังความรู้และภูมิปัญญาต่างๆ
รวมไปถึงข้อมูลด้านการพยากรณ์อากาศที่มีความความแม่นยำสูงเพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิตของเกษตรกรให้สูงขึ้นรวมทั้งยังได้พัฒนาแพลทฟอร์มร้านฟาร์มสุข
เพื่อเป็นช่องทางการตลาดให้เกษตรกรสามารถขายสินค้าทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูป
รวมถึงสินค้าที่เป็นภูมิปัญญาของชุมชน หรือ OTOP
ซึ่งถือเป็นการสนับสนุนและช่วยเหลือเกษตรกรโดยตรง
ขณะนี้ ร้านฟาร์มสุขมีร้านค้า จำนวน 273 ร้านค้า มีจำนวนสินค้า 1,517 รายการ
สำหรับในพื้นที่ภาคตะวันออก มีสินค้าเกษตรและสินค้าเกษตรแปรรูป
มาจำหน่ายบนร้านฟาร์มสุข จำนวน 26 ร้านค้า จำนวนสินค้า 188 รายการ เช่น น้ำมังคุด 100% จากลดาฟาร์ม ทุเรียนหมอนทอง จากร้าน Durioจังหวัดจันทบุรี และผลิตภัณฑ์สมุนไพร โรงพยาบาลอภัยภูเบศร
จังหวัดปราจีนบุรี เป็นต้น
นอกจากนี้ เอไอเอส
ยังได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไปส่งเสริมการทำงานด้านสาธารณสุขโดยสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัลเพื่อสังคมไทย “แอปพลิเคชัน อสม.ออนไลน์”เครือข่ายสังคมออนไลน์เฉพาะกลุ่ม
เพื่อเป็นเครื่องมือสื่อสารในการปฎิบัติงานด้านสาธารณสุขชุมชนเชิงรุกของหน่วยบริการสุขภาพ
และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารข้อมูล ภาพ
เสียง วิดีโอ ข้อความ พิกัดแผนที่ระหว่างสมาชิกในกลุ่มผ่านรูปแบบการแจ้งข้อมูล
การสนทนา ทำให้สมาชิกในเครือข่ายสามารถรับรู้ข้อมูล ข่าวสาร
ความเคลื่อนไหวด้านสาธารณสุขและภัยสุขภาพในชุมชนได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
ถูกต้องแม่นยำ ที่สำคัญแอปฯอสม.ออนไลน์ สามารถใช้งานได้กับทุกเครือข่าย
แต่เมื่อใช้งานบนเครือข่ายเอไอเอสจะไม่เสียค่าบริการอินเทอร์เน็ตซึ่งปัจจุบัน
หน่วยบริการสุขภาพและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล หรือ
รพ.สต.เปิดใช้งานแอปฯอสม.ออนไลน์แลัว จำนวน 2,264
แห่งทั่วประเทศ
และมีผู้ใช้งานจำนวน 38,687 คนสำหรับภาคตะวันออก มีหน่วยบริการสุขภาพ
และรพ.สต. เปิดใช้แอปฯอสม.ออนไลน์แล้ว จำนวน 191 แห่ง
โดยมีหน่วยบริการสุขภาพและรพ.สต.ในจังหวัดจันทบุรี เปิดใช้งานแล้ว จำนวน 77 แห่ง
และในปีนี้จะขยายการใช้งานแอปฯอสม.ออนไลน์ ไปยังระดับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัด
และสาธารณสุขอำเภอ ด้วยการสร้างต้นแบบการใช้งานในพื้นที่ต่างๆ
เพื่อยกระดับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้ในงานสาธารณสุขชุมชนอย่างต่อเนื่อง
สำหรับธุรกิจสตาร์อัพ
เอไอเอสได้ร่วมส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจสตาร์ทอัพรวมถึงผู้ประกอบการในระดับชุมชน
โดยนำองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและบริการต่างๆเพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจ
และพัฒนาสินค้าให้สามารถเติบโตในเชิงธุรกิจทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศได้อย่างยั่งยืน
โดยในส่วนของภาคตะวันออก เอไอเอส ได้เตรียมความพร้อมด้านเครือข่าย
รวมถึงไอทีแพลตฟอร์ม และโซลูชั่นส์ต่างๆ เช่น ระบบเก็บเงิน, ระบบการทำตลาดออนไลน์
ให้แก่กลุ่มผู้ประกอบการสตาร์ทอัพในพื้นที่
พร้อมทั้งมีผู้เชี่ยวชาญจากเอไอเอสที่คอยให้คำแนะนำ
และสนับสนุนผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ AIS The StartUpซึ่งผู้สนใจสามารถสมัครผ่านทาง www.ais.co.th/thestartup ได้ตลอด
24 ชั่วโมง นอกจากนี้
ยังได้วางแผนที่จะเผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการฯ ดังกล่าว ไปยังสถาบันการศึกษา
กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs
และผู้ที่สนใจ
เพื่อมาร่วมเป็นดิจิทัลพาร์ทเนอร์กับครอบครัว AIS The StartUpเพื่อสนับสนุนแนวคิดที่สร้างสรรค์และไอเดียของกลุ่มผู้สนใจเหล่านี้ให้เป็นความจริง”
“สิ่งเหล่านี้ คือความมุ่งมั่นของชาวเอไอเอส
ที่จะนำขีดความสามารถทั้งแรงกาย แรงใจ และองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
ไปร่วมสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานหลักของประเทศมีความแข็งแกร่ง พร้อมที่จะก้าวสู่
ไทยแลนด์ 4.0 เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืนต่อไป”
ไม่มีความคิดเห็น: