กสทช.เขต16
ร่วมกับ เอไอเอส เดินหน้าจัดเสวนา “คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือไม่อันตรายต่อสุขภาพ”
ให้แก่สื่อมวลชน - ศูนย์ดำรงธรรม - สคบ.จังหวัดปราจีนบุรี เพื่อเผยแพร่ข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐ
และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือในการนำเสนอหรือเผยแพร่สู่สาธารณะต่อไป
นายเชิดชัย
นิติรัตนกุล ผู้จัดการศูนย์วิศวกรรม-ภาคตะวันออก บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์
เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส กล่าวว่า
เอไอเอสในฐานะเป็นผู้ให้บริการสื่อสาร โทรคมนาคมขอมีส่วนร่วมในการแสดงความรับผิดชอบต่อชุมชน
และสังคม
เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ชุมชนถึงคลื่นความถี่แม่เหล็กไฟฟ้าที่ปล่อยออกมาจากเสาส่งสัญญาณซึ่งเอไอเอสได้ปฏิบัติตามแนวทางมาตรฐานความปลอดภัยที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง
กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
เนื่องจากปัจจุบันผู้ประกอบการทุกรายเดินหน้าขยายการติดตั้งเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้น
โดยเฉพาะภายในพื้นที่ชุมชนเพื่อรองรับจำนวนความต้องการใช้งานที่เพิ่มสูงขึ้น
และเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีทางการสื่อสารได้อย่างเท่าเทียมกันในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
ตามนโยบายภาครัฐที่กำลังขับเคลื่อนประเทศไปสู่ “ไทยแลนด์ 4.0”
โดยสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ภาครัฐ
และเอกชนต่างเดินหน้าขยายโครงสร้างพื้นฐานเพื่อประชาชนทุกคนในประเทศสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัล
และการสื่อสารได้อย่างเท่าเทียมกัน แต่ยังมีประชาชนในชุมชนบางพื้นที่มีข้อวิตกกังวลจากการที่มีเสาส่งสัญญาณตั้งอยู่บริเวณที่พักอาศัย
ทั้งนี้ เอไอเอส ได้ร่วมกับกสทช.เขต16 จัดงานเสวนาให้ความรู้ในหัวข้อ“คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือไม่อันตรายต่อสุขภาพ”เพื่อทำความเข้าใจ และให้ข้อมูลที่ถูกต้องในประเด็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือกับสื่อมวลชนทุกแขนง
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ศูนย์ดำรงธรรม
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) และประชาสัมพันธ์จังหวัดปราจีนบุรีในการเป็นสื่อกลางนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องเผยแพร่สู่สาธารณชนต่อไป
ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของกสทช.ที่มีการจัดเสวนาเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือต่อความปลอดภัยด้านสุขภาพ
ให้กับนักวิชาการ ข้าราชการ นักเรียน นักศึกษาและประชาชนได้รับทราบ เช่นเดียวกัน โดยมีวิทยากรจากสำนักงาน
กสทช. และกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ให้ข้อมูล
ดร.ธีรศักดิ์
อนันตกุล ผู้อำนวยการสำนักวางแผนและพัฒนาโครงข่ายวิทยุ
และผู้เชี่ยวชาญด้านคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า กล่าวว่า
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือที่มีประชาชนวิตกกังวลนั้น
ความจริงแล้วไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายมนุษย์ และสัตว์
เพราะว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าดังกล่าว มีกำลังส่งที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ กสทช.
กำหนดไว้ เช่นเดียวกับโครงสร้างเสาส่งสัญญาณที่ก่อสร้างตามหลักวิศวกรรมที่เป็นไปตามมาตรฐานของสถาบันวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย
และ กสทช. ดังนั้นประชาชน และผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณรอบเสาส่งสัญญาณจึงมั่นใจได้ว่าจะไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด
โดยจากงานวิจัยระบุว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามี
2 ประเภท คือ
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากลุ่มชนิด ไม่ก่อไอออน (Non-ionizing
radiation) ซึ่งเป็นย่านความถี่ชนิดที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ(DNA) ในมนุษย์ และสัตว์ได้ เนื่องจากเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่ต่ำ
ซึ่งจะอยู่ในกลุ่มคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ,คลื่นจากวิทยุ
เอเอ็ม เอฟเอ็ม ,โทรทัศน์
และคลื่นจากวิทยุสื่อสารตำรวจหรือกู้ภัย สัญญาณ WI-FI เช่นเดียวกับแสงแดด (UV) ที่ถือเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีทั้งความถี่ต่ำ และความถี่สูง
นอกจากนี้องค์การอนามัยโลก
(World Health Organization หรือ WHO)
ได้กำหนดให้ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่ต่ำอยู่ในกลุ่ม
2B ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับ กาแฟ
,น้ำมันหอมระเหย และสารสกัดทั้งกลีบใบของว่านหางจระเข้ หรือน้ำมันมะพร้าวที่ผสมกับไดเอทาโนลาไมด์ สำหรับทำให้เกิดฟองในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดจำพวกแชมพู สบู่
รวมไปถึงเครื่องสำอาง และสารสกัด เป็นต้น โดยทั้งหมดถือเป็นกลุ่มที่อาจจะ
หรืออาจเสี่ยงก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพเท่านั้น
“ปัจจุบันยังไม่มีผลวิจัยใดที่ชี้ชัดว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือมีผลกระทบทำให้เกิดโรคต่างๆต่อร่างกายมนุษย์
หรือสัตว์เลย เช่นเดียวกับ
กสทช.ที่ออกมาระบุอย่างชัดเจนว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือทั่วประเทศมีเกณฑ์ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กสทช.กำหนดไว้”
ขณะที่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากลุ่มชนิดก่อไอออน(Ionizing-radiation) ซึ่งเป็นคลื่นที่มีผลต่ออะตอม
และมีผลต่อการแยกอนุภาคอีเล็กตรอนออกไปกลายเป็นอนุมูลอิสระซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคมะเร็ง
เช่น คลื่นจากรังสีแกมมา รังสีเอ็กซ์ เป็นต้น
ในประเด็นเรื่องความปลอดภัยของโครงสร้างเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือนั้น
ทางบริษัทฯได้ดำเนินการติดตั้งก่อสร้างตามหลักวิศวกรรมที่เป็นไปตามมาตรฐานของสถาบันวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย
และ กสทช. ซึ่งในการดำเนินงานก่อสร้างจะปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัด
ดังนั้นจึงมีความมั่นคง แข็งแรงของโครงสร้างที่สามารถทนต่อแรงลมปะทะได้สูงสุดถึง 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเทียบเท่ากับระดับความแรงของพายุไต้ฝุ่นหรือแม้แต่แผ่นดินไหวก็ตาม
ไม่มีความคิดเห็น: